Written by 4:59 am กำลังมาแรง, ข่าวสาร

Bye bye DART ขอบคุณสำหรับภารกิจป้องกันอุกกาบาตชนโลก

จบไปแล้วกับภารกิจซ้อมปกป้องโลกจากอุกกาบาตของยานอวกาศ DART Double Asteroid Redirection Test ด้วยการพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย Dimorphos เมื่อเข้าวันที่ 27 กันยายน 2565 

นับว่าเป็นความสำเร็จขององค์การนาซา จากการทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก ด้วย ภารกิจ “Double Asteroid Redirection Test” หรือ DART ที่ถูกออกแบบมาเพื่อศึกษาหาความเป็นไปได้ในการป้องกันภัยอันตรายจากดาวเคราะห์ใกล้โลก โดยหัวใจสำคัญของภารกิจนี้คือ การปล่อยยาน DART พุ่งชนดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอส (Dimorphos) ที่ไม่มีความเสี่ยงจะพุ่งชนโลก เพื่อประเมินและคำนวณการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อยหลังจากเกิดการพุ่งชน โดยจะมีการวัดลักษณะการเปลี่ยนแปลงด้วยกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน 

โดยเมื่อเวลา 06.16 น. ของเช้าวันที่ 27 กันยายน 2022 ตามเวลาของประเทศไทย เป็นช่วงเวลาภารกิจสำคัญของยานอวกาศ DART ได้เข้าพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย Dimorphos ด้วยความเร็วกว่า 22,000 กม./ชม. ในการพุ่งชนดังกล่าว ยาน DART สามารถส่งข้อมูลภาพถ่ายเสี้ยววินาทีสุดท้ายกลับมาได้อย่างสำเร็จ ก่อนถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง นับว่าเป็นการสิ้นสุดภารกิจที่ประสบความสำเร็จขององค์นาซา และสร้างความหวังให้เกิดขึ้นกับมนุษย์โลกอีกครั้ง 

จากภาควิชาที่ได้เรียนกันมาทำให้เราทุกคนรู้ว่า มีอุกกาบาตตกลงมายังพื้นโลกทุกปี โดยแต่ละปีอาจมากกว่า 17,000 ดวง แต่อุกกาบาตเหล่านั้นมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะทำอันตรายแก่สิ่งมีชีวิตในโลกได้ และส่วนใหญ่พวกมันก็มักจะตกลงในมหาสมุทร หรือในที่ห่างไกลจากพื้นที่อาศัยของผู้คน แต่ถ้าหากเป็นอุกกาบาตขนาดใหญ่ แน่นอนว่าย่อมเกิดความหายนะเป็นวงกว้างต่อสิ่งมีชีวิตในโลก หรืออาจถึงขั้นโลกาวินาศจนทุกชีวิตดับสูญสิ้นเผ่าพันธุ์เช่นเดียวกับ “ไดโนเสาร์” เมื่อ 66 ล้านปีที่ผ่านมา 

ภารกิจหลักของ DART คือการสำรวจความเป็นไปได้ของการปกป้องโลกด้วยวิธีการปล่อยยานเข้าพุ่งชนอุกกาบาต เพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีการโคจรของอุกกาบาต โดยใช้ยาน DART ปูทาง ด้วยการล็อคเป้าหมายและพุ่งเข้าชนกับดวงจันทร์บริวาร Dimorphos ที่โคจรรอบ ๆ ดาวเคราะห์น้อย Didymos จนเสร็จสิ้นจบภารกิจอย่างสมบูรณ์ ต่อจากนี้นักวิทยาศาสตร์จะคอยศึกษาวงโคจรของระบบดาวเคราะห์น้อยหลังจากการพุ่งชน ด้วยกล้องอวกาศฮับเบิลและกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินกว่า 40 กล้อง ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อเก็บไว้ใช้ประกอบในการหาทางปกป้องอันตรายจากนอกโลกต่อไป 

หากใครได้ติดตามภารกิจดังกล่าวอยู่บ้าง อาจทำให้นึกถึงภาพยนต์ Armageddon หรือ Deep Impact และภาพยนต์ที่ฉายทาง Nexflix เรื่อง Don’t Look Up โดยเค้าโครงของเรื่องบ่งชี้ถึงวันโลกาวินาศ จากการที่โลกถูกอุกกาบาตพุ่งชน แม้ว่าเนื้อเรื่องของหนังจะถูกแต่งขึ้นมาเพียงเพื่อความบันเทิงของคนดูเท่านั้น แต่บรรดานักวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศต่างชี้ว่า มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นจริงได้เสมอ จากการที่โลกถูกอุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชน และเราจำเป็นที่จะต้องมีความเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับมัน 

(รูปภาพจาก BBC) 

Professor Monica Grady ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาตร์ดาวเคราะห์และอวกาศ จาก Open university ในสหราชอณาจักร ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในรายการ นิวส์บีต ทางสถานีวิทยุเรดิโอวันช่อง BBC โดยมีใจความว่า “โลกจะถูกดาวเคราะห์น้อยถล่มพุ่งชนทุก 50 ล้านปี และครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นคือ เมื่อราว ๆ 65 ล้านปีก่อน” และตอนนี้โลกก็ได้เกินกำหนดที่จะถูกอุกกาบาตยักษ์พุ่งชนมากว่า 15 ล้านปีแล้ว จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าอาจจะเกิดการพุ่งชนได้ตลอดเวลาในขณะนี้ ดังนั้นเหล่านักวิทยาศาสตร์ทุกคนรวมถึงทั้งเธอเองต่างก็พยายามอย่างหนักในการหาแนวทางรับมือเพื่อเป็นการป้องกันกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

อย่างเช่นภารกิจ Double Asteroid Redirection Test ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ดังกล่าว แม้จะเป็นเพียงแค่การทดลอง แต่ถ้าหากประสบความสำเร็จในการคำนวณและผลที่ได้ตรงกับความเป็นจริง หรือคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ก็จะช่วยให้สามารถออกแบบภารกิจปกป้องการพุ่งชนของอุกกาบาติได้จริงในอนาคต อีกทั้งยังมีองค์กรอีกหลายหน่วยงานที่ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวัง และร่วมมือกันทำงานเพื่อหาแนวทางป้องกันอย่างเข้มแข็ง ทั้ง Planetary Defense Coordination Office (สำนักงานความร่วมมือเพื่อปกป้องโลก องค์การสหประชาชาติ นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรทั่วโลก และเรื่องนี้ก็ได้ถูกบรรจุเข้าในรายการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของรัฐบาลแล้ว โดย ศาสตราจารย์ เกรดี เชื่อว่า Kinetic impact คือวิธีการที่ให้ความหวังและสามารถเป็นไปได้ที่สุดในขณะนี้ 

ศาสตราจารย์ เกรดี ยังบอกอีกว่า หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จะมีการแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้าแน่นอน และไม่อยากให้ทุกคนนิ่งนอนใจจนเกินไป แต่ควรคอยเฝ้าระวังภัยคุกคามนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ให้ได้มากที่สุด โดยหวังว่ามันจะไม่มีวันมาถึง 

อย่างไรก็ตาม เราขอทิ้งท้ายบทความนี้ไปด้วยคำกล่าว Thank you and Bye bye DAR

(Visited 54 times, 1 visits today)
Last modified: September 28, 2022
Close