Written by 9:40 am Posts, คัดสรรโดยทีมงาน

ก่อนจะเป็นหนี้ ต้องรู้อะไรบ้าง ลดเสี่ยงติด Blacklist

ก่อนจะเป็นหนี้ ต้องรู้อะไรบ้าง ลดเสี่ยงติด Blacklist

คนส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน มักจะมีหนี้สินอันเกิดจากหลายปัจจัยและความจำเป็นที่แตกต่างกันไป แต่สำหรับใครที่กำลังพิจารณาในการจะสร้างหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อ หนี้เงินกู้ ฯลฯ แต่หนี้ทุกประเภทแม้จะมีเงื่อนไขและลักษณะที่ต่างกัน แต่จะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ หากจ่ายหนี้ไม่ตรงเวลาจะมีดอกเบี้ยหรือค่าปรับในการชำระล่าช้า ค่าธรรมเนียมการติดตามทวงหนี้ รวมถึงเสียประวัติการชำระหนี้ โดนดิสเครดิต ส่งผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ ในอนาคต หรืออาจบานปลายถึงขั้นฟ้องร้องเป็นคดีความติดตัวได้ 

ดังนั้นก่อนจะสร้างหนี้ จะต้องรู้อะไรบ้าง 

ก่อนจะสร้างหนี้ จะต้องรู้อะไรบ้าง

1. วัตถุประสงค์

ก่อนจะกู้สินเชื่อหรือทำบัตรเครดิต จะต้องพิจารณาก่อนว่า ทำไมถึงต้องทำ เพื่อประโยชน์ในด้านใด มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน คุ้มหรือไม่ต่อการเป็นหนี้ 

2. พิจารณา เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขของแหล่งเงินกู้ 

เมื่อแน่ใจและตัดสินใจที่จะกู้เงิน ควรพิจารณาแหล่งกู้เงิน เงื่อนไขการอนุมัติ วงเงินที่ได้ อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ต้องจ่ายทั้งหมด ระยะเวลาการชำระหนี้ รวมถึงความสามารถในการจ่ายหนี้

3. พิจารณาทรัพย์สินที่ตนมี ที่สามารถใช้เป็นหลักค้ำประกัน 

เนื่องจากการกู้เงินจากธนาคาร หรือแหล่งการเงินในระบบ มักจะต้องมีการจัดทำสัญญาการกู้ยืม และมีการนำหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน จึงควรอ่านข้อสัญญากู้ยืมให้ละเอียดทั้งของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน 

4. ประเมินศักยภาพการชำระหนี้ของตนได้ตามกำหนด 

ก่อนทำการกู้ยืมเงิน ควรประเมินความสามารถของตนในการจ่ายชำระหนี้ได้ตามกำหนดหรือไม่ มีภาระหนี้เดิมอยู่เท่าไร และถ้าสร้างหนี้ใหม่ขึ้นมาจะกระทบกับการดำเนินชีวิตอีกหรือไม่ เพราะถ้ากู้แล้วเป็นการเพิ่มภาระหนี้สินจนต้องหากู้ยืมที่อื่นเพิ่มเรื่อย ๆ จนกระทบต่อการใช้จ่ายในแต่ละเดือน กลายเป็นติดวังวนอยู่ในโคจรหนี้ที่ไม่มีทางออก ถ้าเป็นแบบนี้ อาจไม่เหมาะที่จะสร้างหนี้เพิ่ม 

ก่อนทำสัญญากู้เงินต้องดูอะไรบ้าง

ก่อนทำสัญญากู้เงินต้องดูอะไรบ้าง

1. ดูสัญญาก่อนกู้เงิน 

  • กรณีที่กู้เงินก่อน 2,000 บาท จะต้องมีหนังสือสัญญา พร้อมลายเซ็นลูกหนี้ จึงจะฟ้องร้องชำระหนี้ตามกฏหมายได้ 
  • เจ้าหนี้จะต้องให้เงินแก่ลูกหนี้ หากเจ้าหนี้ไม่ให้เงินลูกหนี้ จะถือว่าการกู้ยืมนั้นไม่สมบูรณ์ แม้ว่าจะมีการทำสัญญาแล้วก็ตาม และเจ้าหนี้จะไม่สามารถบังคับลูกหนี้ชำระหนี้ได้ 

2. ดูวิธีลงชื่อในสัญญา 

  • ลายเซ็นหรือมีการเขียนชื่อจริง ชื่อเล่น หรือ นามสกุล 
  • กรณีพิมพ์ลายมนิ้วมือ จะต้องมีพยานรับรองอย่างน้อย 2 คน  
  • กรณีแก้ไขจำนวนเงิน ในสัญญาเงินกู้จะต้องมีการลงชื่อของลูกหนี้กำกับไว้ และมีการลงชื่อเจ้าหนี้กำกับในหลักฐานรับชำระหนี้ 

3. ดูวิธีการใช้หนี้ 

กรณีใช้หนี้ด้วยเงิน ต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 

  • เขียนในหลักฐาน “เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้ว” พร้อมลงชื่อกำกับ 
  • ขีดฆ่ายกเลิกสัญญาและเขียน “เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้ว” ในใบสัญญากู้ฉบับที่อยู่กับเจ้าหนี้ 
  • ขีดฆ่ายกเลิกสัญญาและเขียน “เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้ว” ในใบสัญญาเงินกู้ฉบับที่อยู่กับลูกหนี้ 

กรณีการใช้หนี้ด้วยทรัพย์สิน  

  • ลูกหนี้ยอมเอาทรัพย์สินทนเงินที่กู้ ให้ถือว่าลูกหนี้เป็นหนี้เท่ากับราคาทรัพย์สิน 
  • เจ้าหนี้ยอมเอาทรัพย์สินที่ลูกหนี้ใช้ชำระหนี้แทนเงิน ถือว่าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้ที่มีมูลค่าเท่ากับราคาทรัพย์สินตามท้องตลาดในช่วงเวลาที่ส่งมอบ 

4. ดอกเบี้ย  

  • ห้ามเจ้าหน้าที่ไม่ใช่สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15  / ปี 
  • ห้ามคิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ (ดอกเบี้ยทบต้น) 
  • กรณีลูกหนี้ค้างชำระ 1 ปี ขึ้นไป เจ้าหนี้สามารถคิดทบต้นทบดอกได้ แต่จะต้องทำหนังสือสัญญา

5. ระยะเวลาการชำระหนี้  

  • มีการกำหนดเวลา โดยลูกหนี้ไม่สามารถชำระก่อนกำหนดได้ ยกเว้นข้อต่อไปนี้ 
  • ลูกหนี้ที่เป็นผู้ล้มละลายและทรัพย์สินอยู่ในความดูแลของศาล
  • ลูกหนี้ที่ไม่ได้ให้หลักประกันตามที่ตกลงไว้ 
  • หลักประกันที่ให้ไว้ถูกทำลายหรือทำให้เสื่อมราคา
  • ลูกหนี้ชำระก่อนกำหนดได้ หากไม่มีการห้ามจากเจ้าหนี้ 
  • กรณีที่เจ้าหนี้ไม่ได้กำหนดเวลาที่แน่นอน เจ้าหนี้จะสามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ 

อย่างไรก็ตามหากตัดสินในการเป็นหนี้แล้ว ควรวางแผนหนี้สิน และบริหารการจัดการหนี้ให้ดี ทั้งการชำระหนี้ให้ตรงกำหนด และรักษาประวัติให้ดี จะได้ไม่มีผลกระทบจากการเป็นหนี้ และไม่เสียเครดิตบูโรด้วยการติด Blacklist

(Visited 5 times, 1 visits today)
Last modified: November 2, 2022
Close